ค้นหาเพิ่มเติมได้ที่นี้นะค่ะ

Custom Search

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮอร์โมนพืช

ฮอร์โมนพืช
เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สร้างขึ้นภายใต้ต้นพืช เพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโต ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถ เปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีภายในต้นพืชได้
ฮอร์โมนที่ได้จากพืชนี้จะมีจำนวนน้อยมาก เมื่อสกัดออกมาจากพืช แล้ว จึงมีราคาสูงมากและมักจะอยู่ในรูปที่เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนไปเป็นสาร อื่นได้ง่าย จึงไม่สะดวกต่อการจะนำไปใช้ ปัจจุบันมีการสังเคราะห์สารอิน- ทรีย์หลายชนิดขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และมีคุณสมบัติ คล้ายคลึงกับฮอร์โมนพืชทั้ง 5 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว รวมเรียกว่า สารควบคุม การเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulator) นำมาใช้ประโยชน์ในทาง การผลิตพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ พืชสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผัก ไม้ดอกไม้ ประดับ และผลไม้ ในบรรดาสารที่สังเคราะห์ขึ้นมานี้ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมี คุณสมบัติเป็นสารควบคุมหรือชะลอการเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardant) นำมาใช้กำจัดความสูงของพืช ทำให้ทรงต้นกะทัดรัด แข็งแรง เช่น ในไม้กระถาง ช่วยเร่งการออกดอกและติดผลนอกฤดู เช่น ในมะม่วงที่นิยม ใช้สารพาโคลบิวทาโซลฯ (paclobutazol)
ฮอร์โมนพืชมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลต่อการเจริญ เติบโตของพืชแตกต่างกัน พอจำแนกออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

1.ออกซิน (auxins)

ออกซินเป็นกลุ่มของ
ฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้มีการแบ่งเซลล์และยืดตัวของเซลล์ การขนส่งออกซินภายในพืชเป็นการขนส่งอย่างมีทิศทาง
การสังเคราะห์ออกซิน: ออกซินเป็นฮอร์โมนที่แพร่กระจายทั่วไปในพืช มีเข้มข้นสูงที่
เนื้อเยื่อเจริญ ตำแหน่งที่มีการสังเคราะห์ออกซิน ได้แก่เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอดและปลายราก ใบอ่อน ช่อดอกที่กำลังเจริญ เมล็ดที่กำลังงอก เอ็มบริโอและผลที่กำลังเจริญ การสังเคราะห์ออกซินเกิดในเนื้อเยื่อที่มีอายุมากน้อยหรือไม่มีเลย สารตั้งต้นของการสังเคราะห์ออกซินในพืช คือกรดอะมิโนทริปโตแฟน (Trytophan) ออกซินที่พืชสร้างขึ้นมีสองแบบคือแบบอิสระ สามารถเคลื่อนที่ได้ดี กับอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่จับอยู่กับสารอื่นๆ ทำให้เคลื่อนที่ได้น้อยหรือไม่ออกฤทธิ์


2.จิบเบอเรลลิน (Gibberellins)
จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ บทบาททางสรีรวิทยาที่สำคัญของจิบเบอเรลลินคือช่วยเพิ่มความสูงของพืชที่เกิดจากการยืดตัวของข้อ
[1] การค้นพบจิบเบอเรลลินเริ่มจากการศึกษาต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanae ซึ่งมีลักษณะสูง ผอม เกิดจากเชื้อรา Gibberella fujikuroi ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2471 เมื่อสกัดสารที่เชื้อรานี้สร้างขึ้นไปทดสอบกับพืชชนิดอื่น พบว่าทำให้พืชนั้นๆมีอาการอย่างเดียวกันคือต้นผอม สูง จึงตั้งชื่อสารที่พบนี้ว่าจิบเบอเรลลิน สารที่พบชนิดแรกตั้งชื่อว่าจิบเบอเรลลินเอ ต่อมามีการพบอนุพันธ์ของกรดจิบเบอเรลลิกจากราอีกหลายชนิด การสกัดสารจิบเบอเรลลินจากพืชทำได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยแยกได้จากเมล็ดถั่วในปริมาณที่ต่ำมาก ปัจจุบันค้นพบจิบเบอเรลลินแล้ว 89 ชนิด มีการผลิตเชิงการค้าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ [2]


3.ไซโตไคนิน (cytokinins)
เป็นกลุ่มของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เป็นอนุพันธ์ของ
อะดีนีนโดยมีโซ่ข้างมาเชื่อมต่อกับเบสที่ตำแหน่ง N6 ไซโตไคนินแบ่งได้เป็นสองชนิดตามชนิดของโซ่ข้างคือ ไอโซพรีนอยด์ ไซโตไคนิน (Isoprenoid cytokinin) มีโซ่ข้างเป็นสารกลุ่มไอโซพรีน กับ อะโรมาติก ไซโตไคนิน (Aromatic cytokinin) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พืช นอกจากนั้นยังควบคุมกระบวนการที่สำคัญต่างๆในการเจริญและพัฒนาการของพืช



4.เอทิลีน (Ethylene)
เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง บทบาทที่สำคัญของเอทิลีนคือควบคุมกระบวนการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับความชรา การหลุดร่วงของใบ ดอก ผล และควบคุมการเจริญของพืชเมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เอทิลีนมีผลต่อต้นกล้าของถั่ว 3 ลักษณะ (Triple response) ได้แก่ ยับยั้งความสูงของลำต้น ลำต้นหนาขึ้น เพิ่มการเติบโตในแนวราบ นอกจากนั้น ยังพบว่าการแผ่ขยายของแผ่นใบถูกยับยั้ง ส่วนเหนือใบเลี้ยงมีลักษณะโค้งงอเป็นตะขอ (Epicotyl hook)
[2]



5.กรดแอบไซซิก (Plant growth inhibitors)
กรดแอบไซซิกเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชทนต่อสภาวะเครียดต่างๆได้ดี มีบทบาทในการเจริญพัฒนาของเอ็มบริโอ การพักตัวของเมล็ดและของตาพืช พบในพืชที่มีระบบท่อลำเลียงทั่วไป มอส สาหร่าย แต่ไม่พบในลิเวอร์เวิร์ต

เรื่อง สวัสดิภาพในการดำรงชีวิต

แบบทดสอบที่ 1

1.ข้อใดไม่ใช่ประเภทของยา
ก.ยาอันตราย
ข.ยาควบคุมพิเศษ
(ค.)ยาไม่อันตราย
ง.ยาสามัญประจำบ้าน


2.ประเภทยาอะไรที่ไม่ควรซื้อใช้เอง
ก.ยาควบคุมพิเศษ
ข.ยาสามัญประจำบ้าน
(ค.)ยาอันตราย
ง.ยาทาภายนอก


3.ยาแผนปัจจุบันกับยาแผนโบราณต่างกันอย่างไร
ก.ยาแผนโบราณได้จากพืชสดต่างจากยาแผนปัจจุบันซึ่งนำยามาสังเคราะห์
(ข.)ยาแผนปัจจุบันมุ่งบำบัดโรคสัตว์ยาแผนโบราณมุ่งบำบัดสัตว์
ค.ยาแผนโบราณคือเมื่อ 2500 ปีขึ้นไป แต่ยาแผนปัจจุบันคือหลังจาก 2500 ปีไป
ง.ยาแผนปัจจุบันจะมีขายตามโรงพยาบาลแต่ยาแผนโบราณขายเฉพาะร้านยาเก่าๆ


4.เพราะเหตุใดยาบางชนิดจึงต้องรับประทานก่อนอาหาร
ก.เพราะยาจะไปทำปฏิกิริยากับอาหารทำให้ท้องเสียได้
(ข.)เพราะยาจะดูดซึมเข้าร่างกายเวลาที่ท้องว่าง
ค.เพราะเนื่องจากอาจเกิดการระคายเคืองในกระเพราะอาหาร
ง.เพราะในกระเพาะมีฤทธิ์เป็นเบส
5.ทำไมยาทุกชนิดก่อนรับประทานจึงต้องเขย่าก่อนรับประทาน
(ก).เพื่อให้ตัวยาที่ตกตะกอนอยู่กระจายไปทั่ว
ข.เพื่อให้สารในขวดทำปฏิกิริยากัน
ค.เพื่อกระตุ้นให้สารเคมีในตัวยาเกิดการแตกตัว
ง.เพื่อให้ยาออกฤทธิ์นานขึ้น


6.เราควรทานยาก่อนอาหารเป็นเวลาเท่าไร
ก. 1 ชั่วโมงขึ้นไป
ข. 5 – 10 นาที
ค. เท่าไรก็ได้
(ง.) 30 นาที - 1 ชั่วโมง


7.ข้อใดไม่ใช่สารเสพติดประเภท สารเสพติดธรรมชาติ
(ก.) เฮโรอีน
ข. กัญชา
ค. ฝิ่น
ง. กระท่อม


8.สารเสพตืดสังเคราะห์ ผลิตขึ้นจากอะไร
ก. สารทางเคมีมาผสมกัน
(ข.) นำสารที่มีอยู่ในพืชมาสังเคราะห์
ค. นำสารที่มีอยู่ในสัตว์มาสังเคราะห์
ง. ผลิตมาจากสารที่มีอยู่ในมันสำปะหลัง





9. ฤทธิ์ของยาเสพติดประเภทใดที่มีอาการตื่นตัวตลอดเวลา ไม่รู้สึกง่วง
ก. ชนิดกดประสาท
(ข.) ชนิดกระตุ้นประสาท
ค. ชนิดกระตุกประสาท
ง.ชนิดหลอนประสาท


10. แผ่นนิโคตินมีประโยชน์อย่างไร
ก. ใช้ง่าย
(ข.) ช่วยลดความยากบุหรี่
ค. ช่วยให้กระปี้กระเป่า
ง. ช่วยให้นอนหลับง่าย


แบบทดสอบที่ 2

1. ถ้าเกิดปวดท้องขึ้นมาควรทำอย่างไร
ตอบ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษา ไม่ควรกินยาทันทีโดยไม่รู้สาเหตุของอาการ


2. ถ้าต้องการยานอนหลับจะต้องทำอย่างไร
ตอบ ไปขอใบรับรองแพทย์ หรือ ใบอนุญาตสั่งซื้อยา จากแพทย์ก่อนจะซื้อ เพื่อยืนยันว่า นำยานี้ไปรักษาโรคจริงๆ เพราะยานอนหลับเป็นยาอันตราย


3. ระหว่าง ยาแผนโบราณ ยาแผนปัจจุบัน และยาสมุนไพร ยาแบบไหนที่คิดว่าน่าเชื่อถือที่สุด เพราะอะไร
ตอบ ยาแผนปัจจุบัน เพราะเป็นยาที่ผ่านการทดสอบทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ปล่อยภัย


4. ถ้ายาที่เราได้มามีฉลากเป็นภาษาที่เราไม่สามารถอ่านได้จะทำอย่างไร
ตอบ ควรไปให้ผู้ที่สามารถอ่านภาษานั้นได้อ่านให้ฟัง หรือ ไปพบแพทย์ก่อนรับประทาน


5. นักเรียนคิดว่าดื่มสุราปริมาณเท่าใดถึงไม่ควรขับรถ
ตอบ ปริมาณ 3 - 4 แก้ว

6. ในอดีตฤทธิ์ของยาบ้าหรือแอมเฟตามีนจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนใด
ตอบ ระบบประสาทส่วนกลาง




7. จงยกตัวอย่างโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่มา 3 โรค
ตอบ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็งไต โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งปาก โรคมะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็งลำคอ

8. แผ่นนิโคตินมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ ช่วยให้ผู้ที่ติดบุหรี่เลิกสูบได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีปริมาณนิโคตินผ่านเข้าร่างกายปริมาณน้อยๆ ตลอด 24 ชั่วโมงช่วยลดอาการถอนยา ลดอาการอยากบุหรี่


9. ถ้าในครอบครัวของนักเรียนมีคนสูบบุหรี่ นักเรียนจะทำอย่างไรให้เขาอยากจะเลิกสูบบุหรี่
ตอบ ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ และผลที่จะตามมาจากการสูบบุหรี่ให้คนนั้นทราบ


10. ถ้าหากมีความดันต่ำ ควรใช้วิธีใดในการรักษาที่ง่ายๆ เพื่ออะไร
ตอบ ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอร์ ดื่มพอสมควร เพื่อไห้ไปกระตุ้นหัวใจทำให้สูบฉีดเลือด

ลักษณะของใบ

ใบพลู

ชนิดของใบ : ใบเดี่ยว
พืชใบเลี้ยง : ใบเลี้ยงคู่
ลักษณะของใบ
รูปร่าง : มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ มีรูปร่างคล้ายหัวใจ
ปลายใบ : เป็นติ่งแหลม
โคนใบ : รูปหัวใจ
ขอบใบ : ขอบเรียบ
ผิวสัมผัส...
ด้านบน : ลื่นและเป็นมันวาว
ด้านล่าง : ค่อนข้างหยาบ
กลิ่น : หอมสี : เขียวสด

.................................................

ใบน้อยหน่า

ชนิดของใบ : ใบเดี่ยว
พืชใบเลี้ยง : ใบเลี้ยงคู่
ลักษณะของใบ
รูปร่าง : มีลักษณะเป็นรูปใบหอก
ปลายใบ : เรียวแหลม
โคนใบ : รูปลิ่ม
ขอบใบ : ขอบเรียบ
ผิวสัมผัส...
ด้านบน : ค่อนข้างหยาบ
ด้านล่าง : หยาบกร้าน
กลิ่น : เหม็นเขียว
สี : เขียวอ่อน

..................................................

ใบส้มจี้ด

ชนิดของใบ : ใบเดี่ยว
พืชใบเลี้ยง : ใบเลี้ยงคู่
ลักษณะของใบ
รูปร่าง : มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ
ปลายใบ : เว้าบุ๋ม
โคนใบ : รูปลิ่ม
ขอบใบ : ขอบเรียบ
ผิวสัมผัส...
ด้านบน : ค่อนข้างหยาบ
ด้านล่าง : หยาบ
กลิ่น : เหม็นเขียวสี : เขียวเข้ม