ค้นหาเพิ่มเติมได้ที่นี้นะค่ะ

Custom Search

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ฮอร์โมนพืช

ฮอร์โมนพืช
เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สร้างขึ้นภายใต้ต้นพืช เพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโต ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถ เปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีภายในต้นพืชได้
ฮอร์โมนที่ได้จากพืชนี้จะมีจำนวนน้อยมาก เมื่อสกัดออกมาจากพืช แล้ว จึงมีราคาสูงมากและมักจะอยู่ในรูปที่เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนไปเป็นสาร อื่นได้ง่าย จึงไม่สะดวกต่อการจะนำไปใช้ ปัจจุบันมีการสังเคราะห์สารอิน- ทรีย์หลายชนิดขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และมีคุณสมบัติ คล้ายคลึงกับฮอร์โมนพืชทั้ง 5 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว รวมเรียกว่า สารควบคุม การเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulator) นำมาใช้ประโยชน์ในทาง การผลิตพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ พืชสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผัก ไม้ดอกไม้ ประดับ และผลไม้ ในบรรดาสารที่สังเคราะห์ขึ้นมานี้ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมี คุณสมบัติเป็นสารควบคุมหรือชะลอการเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardant) นำมาใช้กำจัดความสูงของพืช ทำให้ทรงต้นกะทัดรัด แข็งแรง เช่น ในไม้กระถาง ช่วยเร่งการออกดอกและติดผลนอกฤดู เช่น ในมะม่วงที่นิยม ใช้สารพาโคลบิวทาโซลฯ (paclobutazol)
ฮอร์โมนพืชมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลต่อการเจริญ เติบโตของพืชแตกต่างกัน พอจำแนกออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

1.ออกซิน (auxins)

ออกซินเป็นกลุ่มของ
ฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้มีการแบ่งเซลล์และยืดตัวของเซลล์ การขนส่งออกซินภายในพืชเป็นการขนส่งอย่างมีทิศทาง
การสังเคราะห์ออกซิน: ออกซินเป็นฮอร์โมนที่แพร่กระจายทั่วไปในพืช มีเข้มข้นสูงที่
เนื้อเยื่อเจริญ ตำแหน่งที่มีการสังเคราะห์ออกซิน ได้แก่เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอดและปลายราก ใบอ่อน ช่อดอกที่กำลังเจริญ เมล็ดที่กำลังงอก เอ็มบริโอและผลที่กำลังเจริญ การสังเคราะห์ออกซินเกิดในเนื้อเยื่อที่มีอายุมากน้อยหรือไม่มีเลย สารตั้งต้นของการสังเคราะห์ออกซินในพืช คือกรดอะมิโนทริปโตแฟน (Trytophan) ออกซินที่พืชสร้างขึ้นมีสองแบบคือแบบอิสระ สามารถเคลื่อนที่ได้ดี กับอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่จับอยู่กับสารอื่นๆ ทำให้เคลื่อนที่ได้น้อยหรือไม่ออกฤทธิ์


2.จิบเบอเรลลิน (Gibberellins)
จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ บทบาททางสรีรวิทยาที่สำคัญของจิบเบอเรลลินคือช่วยเพิ่มความสูงของพืชที่เกิดจากการยืดตัวของข้อ
[1] การค้นพบจิบเบอเรลลินเริ่มจากการศึกษาต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanae ซึ่งมีลักษณะสูง ผอม เกิดจากเชื้อรา Gibberella fujikuroi ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2471 เมื่อสกัดสารที่เชื้อรานี้สร้างขึ้นไปทดสอบกับพืชชนิดอื่น พบว่าทำให้พืชนั้นๆมีอาการอย่างเดียวกันคือต้นผอม สูง จึงตั้งชื่อสารที่พบนี้ว่าจิบเบอเรลลิน สารที่พบชนิดแรกตั้งชื่อว่าจิบเบอเรลลินเอ ต่อมามีการพบอนุพันธ์ของกรดจิบเบอเรลลิกจากราอีกหลายชนิด การสกัดสารจิบเบอเรลลินจากพืชทำได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยแยกได้จากเมล็ดถั่วในปริมาณที่ต่ำมาก ปัจจุบันค้นพบจิบเบอเรลลินแล้ว 89 ชนิด มีการผลิตเชิงการค้าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ [2]


3.ไซโตไคนิน (cytokinins)
เป็นกลุ่มของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เป็นอนุพันธ์ของ
อะดีนีนโดยมีโซ่ข้างมาเชื่อมต่อกับเบสที่ตำแหน่ง N6 ไซโตไคนินแบ่งได้เป็นสองชนิดตามชนิดของโซ่ข้างคือ ไอโซพรีนอยด์ ไซโตไคนิน (Isoprenoid cytokinin) มีโซ่ข้างเป็นสารกลุ่มไอโซพรีน กับ อะโรมาติก ไซโตไคนิน (Aromatic cytokinin) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พืช นอกจากนั้นยังควบคุมกระบวนการที่สำคัญต่างๆในการเจริญและพัฒนาการของพืช



4.เอทิลีน (Ethylene)
เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง บทบาทที่สำคัญของเอทิลีนคือควบคุมกระบวนการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับความชรา การหลุดร่วงของใบ ดอก ผล และควบคุมการเจริญของพืชเมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เอทิลีนมีผลต่อต้นกล้าของถั่ว 3 ลักษณะ (Triple response) ได้แก่ ยับยั้งความสูงของลำต้น ลำต้นหนาขึ้น เพิ่มการเติบโตในแนวราบ นอกจากนั้น ยังพบว่าการแผ่ขยายของแผ่นใบถูกยับยั้ง ส่วนเหนือใบเลี้ยงมีลักษณะโค้งงอเป็นตะขอ (Epicotyl hook)
[2]



5.กรดแอบไซซิก (Plant growth inhibitors)
กรดแอบไซซิกเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชทนต่อสภาวะเครียดต่างๆได้ดี มีบทบาทในการเจริญพัฒนาของเอ็มบริโอ การพักตัวของเมล็ดและของตาพืช พบในพืชที่มีระบบท่อลำเลียงทั่วไป มอส สาหร่าย แต่ไม่พบในลิเวอร์เวิร์ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น