ค้นหาเพิ่มเติมได้ที่นี้นะค่ะ

Custom Search

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำถาม-คำตอบ ชีวะ ม.5 ของหนังสือ สสวท. บทที่8




1. จากการทดลองเมื่อตัดเส้นใยประสานงานของพารามีเซียมออกพบว่า พารามีเซียมไม่สามารถควบคุมการพัดโบกของซิเลียได้ นักเรียนสรุปหน้าที่ของเส้นใยประสานงานนี้อย่างไร

<<ตอบ>> สรุปได้ว่า เส้นใยประสาทที่ตัดออกไปนั้น เป็น เส้นใยประสานงาน

………………………………………………………………

2. ถ้าใช้เข็มแตะที่ปลายเทนคาเคิลของไฮดราจะเกิดอะไรขึ้น นักเรียนอธิบายผลการทดลองนี้อย่างไร

<<ตอบ>> การเอาเข็มไปแตะที่ปลายเทนทาเคิลของไฮดราที่มีร่างแหเซลล์ประสาท ที่ประกอบด้วยเซลล์ประสาทเชื่อมโยง เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจะเกิดกระแสประสาทเคลื่อนที่ไปตามเซลล์ประสาทที่สานกันเป็นร่างแห ที่จุดถูกกระตุ้นและกระจายไปทั่วตัวทำให้ไฮดรานั้นรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้

………………………………………………………………

3. การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของไฮดรากับพาราเรียแตกต่างกันอย่างไร

<<ตอบ>> ไฮดรา : มีระบบประสาทแบบร่างแหประสาทประกอบด้วยเซลล์ประสาทเชื่อมโยง

พาราเรีย : เซลล์ประสาทรวมตัวกันเป็นกลุ่มโดยเฉพาะบริเวณหัว เรียกกลุ่มเซลล์ประสาทเหล่านี้เรียกว่า ปมประสาท

………………………………………………………………

4. พาราเรีย ใส้เดือนดินกับแมลงมีการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า แตกต่างกันอย่างไร

<<ตอบ>> พาราเรีย : เซลล์ประสาทรวมตัวกันเป็นกลุ่มโดยเฉพาะบริเวณหัว เรียกกลุ่มเซลล์ประสาทเหล่านี้เรียกว่า ปมประสาท

ไส้เดือนดิน : มีปมประสาทของนาดใหญ่ เป็นสมองส่วนหน้า มีปมประสาทตามปล้องของลำตัวและเส้นประสาทเชื่อมต่อปมประสาทที่มีอยู่ตามปล้อง

แมลง : มีปมประสาทหลายปมเรียงตัวตามยาวของลำตัวทางด้านท้อง

………………………………………………………………

5. ปลามีสมองส่วนใดเจริญที่สุด

<<ตอบ>> สมองส่วนหน้า ออลแฟกทอรีบัลบ์

………………………………………………………………

6. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีพัฒนาการของสมองส่วนใดมากกว่าสัตว์กลุ่มอื่นๆ มากที่สุด และสมองส่วนนี้มีความสำคัญอย่างไร

<<ตอบ>> ระบบประสาทซึ่งประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และระบบ ประสาททั่วร่างกาย สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีวิวัฒนาการที่ดีมาก เพื่อการเรียนรู้เรื่องการปรับตัว การแก้ปัญหา และความทรงจำ ดีกว่าสัตว์ กลุ่มอื่นๆ

………………………………………………………………

7. สัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้น สมองมีพัฒนาการแตกต่างไปจากสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่าอย่างไร

<<ตอบ>> สมองของสัตว์ชั้นสูง เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทเพื่อทำงานเกี่ยวกับความคิด ความจำ ความฉลาด เชาว์ปัญญา รวมทั้งทำหน้าที่เป็นสถานีกลางเกี่ยวกับระบบประสาททั้งหมดอีกด้วย ในสัตว์ที่มีวิวัฒนาการของระบบประสาทสูงขึ้นจะมีสมองที่มีรูปร่างสลับซับซ้อนและมีคลื่นหยัก (Convulution) เพิ่มมากขึ้นด้วย คลื่นหยักเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ของสมอง สัตว์ที่ฉลาดมากจะมีเคลื่อนหยักของสมองมากด้วย

………………………………………………………………

8. รูปร่างของเซลล์ประสาท มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างจากเซลล์อื่นๆของร่างกายอย่างไร

<<ตอบ>> เซลล์ประสาท (Neuron) รูปร่างของเซลล์ประสาทจะมีรูปร่างสลับซับซ้อนกว่าเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย คือ ประกอบด้วยตัวเซลล์ (Cell body หรือ Soma) ภายในจะมีนิวเคลียส (nucleus) และโปรโตปลาสซึม (protoplasm) เหมือนกับเซลล์อื่น ๆ แต่ Protoplasm ของเซลล์ประสาทจะยื่นออกไปจากตัวเซลล์ เรียกว่า Process หรือใยประสาท

………………………………………………………………

9. รูปร่างของเซลล์ประสาทเหมาะสมกันหน้าที่การทำงานอย่างไร

<<ตอบ>> รูปร่างของเซลล์ประสาทชนิดต่างๆ ตัวเซลล์ประสาทและเดนไดรต์ เป็นบริเวณที่เกิดไซแนปส์ กับเซลล์ประสาทอื่นๆ แขนงของเดนไดรต์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวเซลล์สำหรับไซแนปส์ สัญญาณที่ก่อให้เกิด Depolarization ของเมมเบรนจะถูกรวบรวมชักนำให้เกิด action potential บริเวณโคนของแอกซอน ซึ่งมีอยู่แขนงเดียว เป็นการส่งสัญญาณจากตัวเซลล์ประสาทสู่เซลล์ประสาทอื่นๆ หรือเซลล์ที่ทำหน้าที่ตอบสนองต่อไป

………………………………………………………………

10. ถ้าเซลล์ประสาทไม่มีการขับ Na⁺ ออกจากเซลล์และดึง K⁺ เข้าสู่เซลล์ใหม่ นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น

<<ตอบ>> จะเกิดกระแสประสาทในเซลล์ประสาท เซลล์ประสาทจะไม่เข้าสู่ระยะพัก

………………………………………………………………

11. ถ้าไม่มีการส่งสารสื่อประสาทจากแอกซอนของเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ จะเกิดกระแสประสาทขึ้นที่เดนไดรต์ของเซลล์ ประสาทหลังไซแนปส์หรือไม่

<<ตอบ>> ไม่เกิดกระแสประสาท

………………………………………………………………

12. การที่สารสื่อประสาทสร้างเฉพาะที่ปลายแอกซอนเท่านั้น แต่ไม่มีการสร้างที่ปลายเดนไดรต์ลักษณะดังกล่าวจะมีผลต่อทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทอย่างไร

<<ตอบ>> กระแสประสาทจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันคือ จากแอกซอนของเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่ง ทำให้สามารถส่งกระแสไปยังเป้าหมายได้

………………………………………………………………

13. นักเรียนคิดว่าการสลายตัวอย่างรวดเร็วของสารสื่อประสาทมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

<<ตอบ>> ทำให้เซลล์ประสาทกลับคืนสู่สภาวะปกติได้รวดเร็วขึ้นและพร้อมที่จะส่งกระแสประสาทครั้งต่อไปอย่างรวดเร็ว

………………………………………………………………

14. ถ้าทางเดินของน้ำเลี้ยงสมองและไชสันหลังอุดตันจะเกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

<<ตอบ>> จะมีสิ่งสกปกอุดตันในสมอง และสมองขาด O₂ อาจเป็นโรคอัลไซเมอร์

………………………………………………………………

15. ถ้าสมองขาดเลือดในเวลา 5 นาที จะเกิดผลอย่างไร

<<ตอบ>> เซลล์สมองจะตาย

………………………………………………………………

16. ถ้าเกิดตะกอนหรือลิ่มเลือดของหลอดเลือดในสมองจะเกิดผลอย่างไร

<<ตอบ>> ทำให้เซลล์สมองไมได้รับออกซิเจนและกลูโคสตามปกติสมองจะตาย

………………………………………………………………

17. เพราะเหตุใด การฉีดยาเข้าที่ไขสันหลังบริเวณที่ต่ำกว่ากระดูกสันหลังบริเวณเอวข้อที่2ลงไปจงมีอันตรายน้อยกว่าบริเวณอื่น

<<ตอบ>> เพราโอกาสที่จะทำอันตรายแก่ตัวเซลล์ประสาทในไขสันหลังน้อยกว่าบริเวณอื่น

………………………………………………………………

18. เส้นประสาทสมองคู่ใดบ้างเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึก คู่ใดบ้างเป็นเส้นประสาทสั่งการ และคู่ใดบ้างที่เป็นเส้นประสาทผสม

<<ตอบ>> (1)(2)(8) รับความรู้สึก , (3)(4)(6)(11)(12) สั่งการ , (5)(7)(9)(10) ผสม

………………………………………………………………

19. ขณะอ่านหนังสือเส้นประสาทสมองคู่ใดบ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรง

<<ตอบ>> (2)(3)(4)(6)(7)

………………………………………………………………

20. การรับรสอาหารเป็นหน้าที่ของเส้นประสาทสมองคู่ใด

<<ตอบ>> (9)

………………………………………………………………

21. จากความรู้ดังกล่าวนักเรียนสามารถประมวลหน้าที่ของไขสันหลังได้หรือไม่ว่ามีความสำคัญอย่างไร

<<ตอบ>> 1) เป็นทางเดินของประแสประสาท 2) เป็นศูนย์กลางของรีเฟล็กซ์

………………………………………………………………

22. หากเซลล์ประสาทสั่งการในไขสันหลังถูกทำลายจะมีผลต่อร่างกายอย่างไร

<<ตอบ>> ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ อาจได้รับอันตราย

………………………………………………………………

23. นักเรียนคิดว่า เส้นประสาทไขสันหลังเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกหรือเส้นประสาทสั่งการหรือเส้นประสาทผสม

<<ตอบ>> เส้นประสาทผสม

………………………………………………………………

24. รีเฟล็กซ์แอกชันของการกระตุกขาเมื่อเคาะที่หัวเข่ากับการชักขาหนีเมื่อเหยียบเศษแก้ว รีเฟล็กซ์แอกชันแบบใดซับซ้อนกว่า เพราะเหตุใด

<<ตอบ>> การชักขาหนีเมื่อเหยียบเศษแก้ว เพราะ เมื่อเศษแก้วบาดInterneuronจะสั่งกระแสประสาทไปยังสมองทำให้รู้สึกเจ็บ

………………………………………………………………

25. รีเฟล็กซ์แอกชันมีผลต่อการดำรงชีวิตของคนเราอย่างไร

<<ตอบ>> เป็นการป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายซึ่งทำงานโดยรวดเร็ว เพราะ รีเฟล็กซ์แอกชัน คือ การตอบสนองที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เช่น เมื่อปลายนิ้วมือไปแตะถูกวัตถุที่มีความร้อนเข้า ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ ดึงแขนเข้าหาตัวหนีออกมาจากวัตถุนั้น หรืออาจขยับตัวหนีออกมาด้วย ต่อมาจึงเกิดความรู้สึก ปวด ร้อน ที่นิ้วมือและนึกลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นการงอแขนหรือขยับตัวหนีออกมาเป็น การสนองของรีเฟล็กซ์ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจจิตใจ

18 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุรค่ะ ช่วยได้มากเลย ^^

    ตอบลบ
  2. ขอบคุนคั้บ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ30 กรกฎาคม 2556 เวลา 06:49

    ขอบคุณค่ะ:)

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  6. thank you. ช่วยได้เยอะเลยค่ะ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2557 เวลา 07:30

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ6 กรกฎาคม 2558 เวลา 07:46

    ขอบคุณนะคะO:-)

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ15 กันยายน 2558 เวลา 08:14

    ขอบคุณมากค่ะ :D

    ตอบลบ
  10. ขอคุณครับ แต่คู่ที่รับรสมี 7 ด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณครับช่วยได้มาก

    ตอบลบ
  12. ขอบคุณนะครับ แต่ผมว่าตัวหนังสือมันอ่านยากเกินไปหน่อยอะครับ

    ตอบลบ