1.การเคลื่อนที่แบบอะมีบา
.
อะมีบาไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่โดยเฉพาะ แต่จะเคลื่อนที่โดยการหลของไซโทพลาสซึมเป็นเท้าเทียม (pseudopodium) ไซโทพลาสซึมในอะมีบา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. เอ็กโทพลาสซึม เป็นไซโทพลาสซึมชั้นนอกที่มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่า เจล
2.เอนโดพลาสซึม เป็นไซโทพลาสซึมชั้นในมีลักษณะค่อนข้างเหลว เรียกว่า โซล
เนื่องจากการรวมตัวและแยกตัวของโปรตีนแอกทีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไมโครฟิลาเมนต์ (สายใยเล็กๆมีมากมายอยู่ในไซโทพลาสซึม) ทำให้สมบัติของไซโทพลาสซึมเปลี่ยนจากเจลเป็นโซลและจากโซลเป็นเจล จึงเกิดการไหลของไซโทพลาสซึมไปในทิศทางที่เซลล์เคลื่อนที่ไป และดันเยื่อหุ้มเซลล์ส่วนนั้นให้โป่งออกเป็นเท้าเทียม ทำให้อะมีบาเคลื่อนที่ได้ เรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid movement)
ข้อมูลจาก http://www.lks.ac.th/bioweb/about/unit7b1.html
2.ไคนีโทโซม
อยู่ตรงตรงโคนของแฟลเจลลัมยังยึดติดกับโครงสร้างภายในเซลล์ เรียกว่าเบซัลบอดี ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางในการควบคุมไมโครทูบูลที่ค้ำจุนแฟลเจลลัมอยู่ มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยไมโครทูบูลจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละสาม โดยที่ไม่มีไมโครทูบูลตรงกลาง จึงเรียกโครงสร้างนี้ว่าโครงสร้าง "9+0" ซึ่งโครงสร้างแบบนี้เป็นโครงสร้างเดียวกับเซนทริโอล(centriole) ในเซลล์สัตว์
ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/
3.เจล
เป็นไซโทพลาสซึมชั้นนอกของอะมีบา มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกอีกชื่อว่า เอ็กโทพลาสซึม
ข้อมูลจาก http://www.sudipan.net/phpBB2/
4.โซล
เป็นไซโทพลาสซึมชั้นในของอะมีบา มีลักษณะค่อนข้างเหลว เรียกอีกชื่อว่า เอนโดพลาสซึม
ข้อมูลจาก http://www.sudipan.net/phpBB2/
5.ไดนีนอาร์ม
เป็นเสมือนแขนที่เกาะกับไมโครทูบูล ซึ่งโครงร่างค้ำจุ้นเหล่านี้ช่วยให้ซิเลีย และแฟลเจลลัม โค้งงอและสามารถโบกพัดได้
ข้อมูลจาก www.nana-bio.com/Meduim/text
6.เท้าเทียม
เท้าเทียมในที่นี้หมายถึงส่วนเคลื่อนที่ชั่วคราวของจุลชีพ ในอีกทางหนึ่ง เท้าเทียม อาจหมายถึง อวัยวะเทียม
เท้าเทียม (ภาษากรีก: Pseudopod หรือ Pseudopodia) คือส่วนที่ใช้เคลื่อนที่ชั่วคราวของเซลล์จำพวกยูคาริโอต (eukaryotic cell) ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มีนิวเคลียสเด่นชัด เซลล์ที่มีเท้าเทียมจะถูกจัดให้อยู่ในจำพวกอะมีบอยด์ (ameboid) โดยอะมีบอยด์นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะอะมีบา แต่ยังรวมไปถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวและโปรติสต์หลายชนิดอีกด้วย
|
การยื่นของเท้าเทียม
เท้าเทียมนั้นไม่ใช่โครงสร้างในการเคลื่อนที่เสียทีเดียว แต่เป็นแค่การดันเยื่อหุ้มเซลล์ให้โป่งออกมา และให้ผิวหน้าของเซลล์ที่ยื่นออกมา ทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่อะมีบอยด์ โดยการดันนั้นเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาโพลีเมอไรเซชัน (polymerization) ที่ทำให้โปรตีนแอคติน (actin) รวมตัวและแยกตัว กลายเป็นไมโครฟิลาเมนท์หรือแอคตินฟิลาเมนท์ (microfilament หรือ actin filament) ซึ่งทำให้ไซโทพลาสซึม (cytoplasm) ในเซลล์อะมีบอยด์ที่มีอยู่ 2 ส่วนคือเอ็กโทพลาสซึม (ectoplasm) หรือไซโทพลาสซึมชั้นนอกที่มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่าเจล (gel) และเอ็นโดพลาสซึม (endoplasm) หรือไซโทพลาสซึมชั้นในที่มีลักษณะเหลวกว่าเจล จะเรียกว่าโซล (sol) โดยไซโทพลาสซึมทั้งสองส่วนจะทำการเปลี่ยนสมบัติของตัวเอง โดยเจลจะเปลี่ยนสถานะไปเป็นโซล ในขณะเดียวกัน โซลก็จะเปลี่ยนสถานะไปเป็นเจล ซึ่งการเปลี่ยนสถานะดังกล่าวจะทำให้เกิดการไหลของไซโทพลาสซึมขึ้นโดยไซโทพลาสซึมจะไหลไปในทางเดียวกับทางที่เซลล์เคลื่อนที่ไป และดันเยื่อหุ้นเซลล์ส่วนนั้นให้โป่งออกมาเป็นเท้าเทียม ทำให้อะมีบอยด์สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยเรียกการเคลื่อนที่แบบนี้ว่าการเคลื่อนที่แบบอะมีบา
หน้าที่ของเท้าเทียม
เท้าเทียมเป็นหนึ่งในโครงสร้างการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสามวิธี โดยอีกสองโครงสร้างคือคือแฟลเจลลัม และซิเลีย
หน้าที่เชิงรับประสาท
เท้าเทียมสามารถที่จะจับอาหารได้ผ่านวิธีการฟาโกไซโทซิส โดยเท้าเทียมที่มีความสามารถนี้มักอยู่ในโปรติสท์หลายชนิดด้วยกัน แต่ก็มีเท้าเทียมที่ทำหน้าที่จับสิ่งแปลกปลอม ไม่ใช่อาหาร เช่นในเซลล์ฟาโกไซท์ที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/
หรือไคนีโทโซม (basal body หรือ kitenosome) ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนกลางในการควบคุมไมโครทูบูลที่ค้ำจุนแฟลเจลลัมอยู่ มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยไมโครทูบูลจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละสาม โดยที่ไม่มีไมโครทูบูลตรงกลาง จึงเรียกโครงสร้างนี้ว่าโครงสร้าง "9+0" ซึ่งโครงสร้างแบบนี้เป็นโครงสร้างเดียวกับเซนทริโอล (centriole) ในเซลล์สัตว์
ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น